top of page

#ForbesGlobalCEO – 4 แนวทางที่ผู้บริหารควรทำเพื่อรับมือ Digital Disruption

หลังจากที่บล็อกก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงเรื่องที่ผู้บริหารต้องรับมือกับธุรกิจในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นอย่างมากซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจของงาน Forbes Global CEO Conference ไปแล้ว ในการบรรยายของ Rich Karlgaard ซึ่งเป็น Editor-at-Large and Global Futurist ของ Forbes Media นั้นยังมีการพูดถึงต่อว่าแนวทาง 4 อย่างที่ผู้บริหารวันนี้ควรจะต้องทำคืออะไรบ้าง เลยขอหยิบมาสรุปเป็นเนื้อหาภาคต่อดังนี้นะครับ

1. ผู้บริหารระดับสูงอย่าง CEO ต้องเป็นคน “นำ” Digital Transformation

เวลาเราพูดเรื่อง Digital Transformation หรือเรื่องของเทคโนโลยีนั้น คณะผู้บริหารหลายคนมักยกความรับผิดชอบให้กับคนที่ทำงานตำแหน่ง Chief Technology Office (CTO) หรือไม่ก็ Chief Digital Office (CDO) แต่สิ่งที่เราเริ่มเรียนรู้วันนี้คือการทำ Transformation นั้นไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีอย่างเดียว หากแต่เป็นเรื่องของคนทั้งองค์กร

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว การเปลี่ยนผ่านองค์กรครั้งนี้จึงเป็นหน้าที่ของ C-Suite ทุกคน ไม่ใช่ของคนตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ซึ่ง CEO ที่เป็นเหมือนผู้นำ / ผู้กุมหางเสือของบริษัทเองก็ต้องเป็นคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน (อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้) และมันก็กลายเป็นหน้าที่ที่ผู้บริหารต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และเพิ่มทักษะในการสร้างการเปลี่ยนแปลงขององค์กรให้ได้

2. การทำให้วัฒนธรรมองค์กรชัดเจนสำหรับทุกๆ คน

ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านและการขับเคลื่อนองค์กรในยุคนี้นั้น จะเห็นว่ามันไม่ใช่การ “ค่อยๆ เปลี่ยน” แต่อย่างใด หากเราจะต้องเร่งและทำให้เร็วเพื่อให้สามารถปรับตัวทันตามกระแสที่โถมเข้ามา

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของหลายๆ องค์กรคือยังทำงานกันแบบต้องผ่านการขออนุมัติ ขอรับคำสั่งจากคนข้างบน เช่นเดียวกับคนที่ตำแหน่งสูงก็จะกลายเป็นคนที่ต้องลงมาดูแลทุกขั้นตอน (จนกลายเป็นปัญหา Micro Management ในหลายๆ องค์กร) ซึ่งนั่นอาจจะเป็นสิ่งที่ถ่วงให้การขับเคลื่อนนั้นช้า และไม่เป็นอย่างที่ควรจะเป็น

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ควรสร้างให้เกิดขึ้นคือการที่องค์กรต้องทำให้พนักงานต่างๆ เข้าใจ Value ขององค์กร เข้าใจเรื่อง Vision / Mission ที่ชัดเจน เพื่อทำให้ทุกทีมที่เข้ามาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนั้นไปทางเดียวกันอย่างรวดเร็ว สามารถไว้ใจและให้ทำงานกันได้โดยอิสระ ไม่ต้องผ่านการประชุมที่มากมายหลายขั้นตอนและเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

นอกจากนี้แล้ว ยังหมายถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เปิดรับ ยอมรับ และลงมือทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น

3. การสร้าง “ทีมอัจฉริยะ” (Team Genius)

การจะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การคิดวิถีใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นนั้นจำเป็นต้องมีคนที่ “ใช่” เข้ามาทำงาน ฉะนั้นแล้วผู้บริหารก็ต้องรู้จักเลือกคนที่เหมาะสมเข้ามาเป็นทีมสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นในหลายๆ องค์กรคือการเลือกทีมที่ค่อนข้างใหญ่ มีหลายฝ่ายจนทำให้เกิดความยุ่งยากในการประสานงาน คุยงาน ฯลฯ ซึ่งข้อเสนอแนะในการบรรยายนั้นคือการพยายามคัดสรรคนที่จำเป็นและให้ขนาดของกลุ่มนั้นเล็กและคล่องตัวเป็นสำคัญ

4. การมีคนที่ “ใช่” ในองค์กร

นอกจากทีมที่ใช่แล้ว เราจะเห็นว่าองค์กรปัจจุบันต้องการคนในที่ทักษะและความสามารถที่ต่างไปจากคนทำธุรกิจแบบเดิมๆ เช่นคนทำงานสาย Data Science คนที่มีทักษะด้าน Design Thinking / Innovative Thinking ซึ่งแน่นอนว่ามันจะกลายเป็นโจทย์ให้กับผู้บริหารว่าทำอย่างไรเพื่อจะหาคนเหล่านี้มาทำงานในบริษัทของตัวเอง เช่นเดียวกับโจทย์ที่มาพร้อมกันว่าจะรักษาพวกเขาไว้ได้อย่างไร เพราะคนเหล่านี้จะกลายเป็นฟันเฟืองสำคัญ (มาก) สำหรับธุรกิจในอนาคต

Comentarios


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page