Google เผยคนไทยใช้ Mobile Internet มากที่สุดในโลก มูลค่า Digital Economy พุ่งเป็น 1 หมื่นล้านเหรียญ
หลายคนอาจจะสงสัยว่าตอนนี้สถานการณ์ด้าน Digital ของไทยว่าอยู่จุดไหนกันแล้วซึ่งเราก็มีรายงานจากสำนักต่างๆ ออกมาตามระยะ และล่าสุดก็มี Research จากทาง Google และ Temasek ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจมากทีเดียวโดยมีไฮไลท์สำคัญๆ คือ
ในปี 2560 ที่ผ่านมานั้น มูลค่าของ Digital Economy ในไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (จากเดิม 5.8 พันล้านในปี 2558)
มูลค่าของ E-Commerce มีมูลค่าโตเป็น 1.8 พันล้านเหรียญ
คาดการณ์กันว่าประเทศไทยจะมีประชากรอินเทอร์เน็ตเป็น 59 ล้านคนในปี 2563
สื่อออนไลน์ของไทยมีมูลค่าเพิม่ขึ้นเป็น 1.5 พันล้านเหรียญ
การท่องเที่ยวออนไลน์เติบโตขึ้นเป็น 5.5 พันล้านเหรียญ
หมายเหตุ: มูลค่าของ Digital Econmy ใน Research ฉบับนี้หมายถึงการนับมูลค่าใน 4 Segment หลักคือ Ride Hailing (บริการนั่งรถร่วมทางเดียวกัน) E-Commerce Online Media และ Online Travel และยังไม่ได้นับอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างเช่น Education Entertainment Financial Service และ Healthcare
เนื้อหาสำคัญอื่นๆ ของ Research
ใน Research e-Conomy Southeast Asia Spotlight 2017 ที่ Google ทำร่วมกับ Temasek นั้นเป็นการพยากรณ์ Digital Economy ในภูมิภาค SEA ซึ่งถูกจับตามองว่าเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งตอนนี้มีการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านเหรียญภายในปี 2025
ทั้งนี้จากข้อมูลล่าสุดนั้น พบว่าภูมิภาค SEA มีอัตราการเติบโตประชากรอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดโดยการอัตราการเพิ่มสูงถึงมากกว่า 3 ลั้านคนต่อเดือน เช่นเดียวกับมีการใช้งานมากถึง 3.6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดในโลกด้วย
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม สำหรับประเทศไทยแล้ว คนไทยมีอัตราการใช้เวลากับ Mobile Internet สูงถึง 4.2 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่สูงที่สุดในโลกเสียอีก
ในฝั่งของธุรกิจ E-Commerce นั้น ประเทศไทยมีการเติบโตที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มากพอสมควร โดยในปี 2017 นั้นมีมูลค่าของธุรกิจอยู่ที่ 1.8 พันล้านเหรียญ ซึ่งเติบโตจาก 9 ร้อยล้านเหรียญในปี 2015 ทั้งที่ใน Research ได้อธิบายทิศทางของ E-Commerce ในภูมิภาค SEA ว่ามีการเติบโตของการ Search ของบริการ E-Commerce ที่โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการใช้เวลากับ E-Commece ใน SEA ต่างๆ สูงกว่าการใช้เวลาของ E-Commerce ใน US เสียอีก
ความท้าทายของประเทศไทย
จากข้อมูลดังกล่าวนั้น เราจะพอเห็นได้ว่าตลาดของไทยนั้นพอจะเรียกได้ว่าเป็น Emerged Market เนื่องจากพฤติกรรมการใช้งานต่างๆ นั้นมีการก้าวกระโดดอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกซึ่งใน Research ฉบับนี้ได้ให้ 6 ปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนผลักดันการเติบโตนี้ ได้แก่
Users & Infrastructure
ตลาดไทยมีการเติบโตที่แข็งแรงมากในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากทางภาครัฐและเอกชน ดังที่เราจะเห็นได้ว่าปริมาณของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประเทศไทยที่มีถึง 45 ล้านคน (อ้างอิงจาก Q3 2017) และมีผู้ใช้งานโทรศัพท์ Post Paid มากถึง 20 ล้านเบอร์ (ซึ่งพออนุมานได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความพร้อมในการใช้งานอินเตอร์เนต) ทั้งนี้ความท้าทายคือคือกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตรุ่นต่อไปซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุหรือใช้มือถือราคาประหยัด ซึ่งก็จำเป็นที่ต้องมีเครื่องมือช่วยเหลืออย่างเช่น Datally และ Files Go ที่ Google พัฒนาขึ้นมา
Payment
การพัฒนา Payment อย่าง Promptpay น่าจะเป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญซึ่งทำให้คนจำนวนมากสามารถมีความสะดวกในการโอนเงินหรือชำระเงินได้โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต การพัฒนาระบบ Payment นี้น่าจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน Digital Ecomony โดยเฉพาะส่วนของ E-Commerce ที่จะโตขึ้นเรื่อยๆ
Logistics
เมื่อ E-Commerce โตขึ้น สิ่งที่ตามมาคือระบบการขนส่ง / จัดส่งสินค้าที่ต้องมารองรับ Demand ที่สูงขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีผู้เล่นหลายเจ้าที่มาลงทุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยิ่งถ้าบริการด้านนี้มีประสิทธิภาพมากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นตัวหนุนให้กลุ่มธุรกิจ E-Commece แข็งแรงมากขึ้นตามไปด้วย
Customer Trust
จากการพัฒนาองค์ประกอบอื่นๆ ก็จะทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้งานบริการด้านดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็จะเป็นตัวเร่งให้มูลค่าของธุรกิจดิจิทัลโตขึ้นไปอีก
Funding
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าบริษัทด้านดิจิทัลใน SEA ได้รับเงินทุนสนับสนุนมากขึ้นโดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีเงินสนับสนุนจาก VC มากขึ้นจาก 1.1 พันล้านเหรียญในปี 2015 เป็น 1.3 หมื่นล้านเหรียญในปี 2017 (มีการลงทุน 7.7 พันล้านในปี 2017) โดยใน SEA มี Startup ในกลุ่มของ Unicorn มากถึง 7 บริษัทด้วยกัน ซึ่งแม้ว่ากลุ่ม Unicorn นี้จะไม่ใช่บริษัทของไทย แต่หลายบริษัทเองก็มีโฟกัสการลงทุนในตลาดไทย ซึ่งก็ทำให้ธุรกิจในส่วนนี้เติบโตอย่างรวดเร็วด้วย (ตัวอย่างเช่นธุรกิจของ Ride-Hailing อย่าง Grab เป็นต้น)
Talent
นอกเหนือจากการพัฒนาอื่นๆ แล้ว สิ่งสำคัญคือเรื่องการพัฒนาด้านบุคคล ซึ่งตรงนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมากเนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลจำเป็นต้องมีแรงงานที่ทักษะความสามารถในการขับเคลื่อน อย่างเช่น Data Scientist, Programmer, Digital Marketers, Analyst ฯลฯ
Digital Economy ของไทยอยู่สถานะไหน?
ถ้าจากข้อมูลที่ Research ฉบับนี้พูด จะเห็นได้ว่าประเทศไทยอยู่ในภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สูงมาก (อัตราการเติบโตสูงกว่าการคาดการณ์ไว้ในทุก Sector) ซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ดี แต่ทั้งนี้สิ่งที่น่าจะวิเคราะห์ต่อคือกลุ่มผู้บริโภคและพฤติกรรมต่างๆ นั้นอยู่ในระดับที่เป็นกลุ่มลูกค้าของธุรกิจดิจิทัลแล้ว แต่การเติบโตของธุรกิจที่มารองรับความต้องการเหล่านี้ยังตามหลัง Demand นี้อยู่ ซึ่งก็จะเป็นความท้าทายของธุรกิจต่างๆ ที่จะต้องรีบพัฒนาและสร้างศักยภาพของธุรกิจให้ทันต่อไปนั่นเอง
Comments