top of page

Heartful Business #3 – จุดเด่น 20 ประการของบริษัทชั้นเลิศ

จากสองบล็อกก่อนที่ผมได้เล่าเรื่องแนวคิดคน 5 กลุ่มที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ ตลอดไปจนถึงวิธีการบริหารของคนแต่ละกลุ่มเพื่อเดินตามแนวทางการเป็นบริษัทชั้นเลิศของ Professor Sakamoto แล้วนั้น ในเนื้อหาการบรรยายของงาน Hearful Business Seminar ที่จัดโดยหลักสูตร MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้มีการพูดต่อถึง 20 ลักษณะสำคัญของบริษัทชั้นเลิศในแนวคิดของ Professor Sakamoto ด้วย ซึ่งแต่ละลักษณะนั้นก็สามารถคิดอะไรต่อได้เยอะทีเดียว บล็อกวันนี้เลยขอลิสต์เอาไว้เผื่อผู้บริหารบริษัทจะนำไปใช้วางนโยบายของตัวเองนะครับ

  1. การบริการจัดการที่เน้นความสุข (ไม่ได้เน้นผลประะกอบการและการเติบโต)

  2. การบริหารที่ดีกับคนทั้ง 5 ฝ่าย (ไม่ได้เน้นที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)

  3. การบริหารจัดการที่คิดถึงผลประโยชน์ของผู้อื่น (ไม่ได้คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตน)

  4. การบริหารแบบวงปีต้นไม้ (ไม่ได้เน้นการเติบโตและขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว)

  5. การบริหารที่ช่วยให้เศรษฐกิจดี (ไม่ใช่การบริหารที่พึ่งสภาวะเศรษฐกิจ)

  6. การบริหารที่สมดล

  7. การไม่ใช่ราคาเป็นตัวแข่งขัน

  8. การบริหารจัดการร่วมกัน (ไม่ใช่การผูกขาดคนเดียว)

  9. การบริหารแบบ Bottom-Up

  10. การบริหารจัดการแบบเปิดกว้าง (ไม่ใช่ระบบปิด)

  11. การทำงานเป็นทีม

  12. การจ้างงานตอนชีพ

  13. การบริหารที่แบ่งเรื่องานและเรื่องส่วนตัวออกจากกัน

  14. การบริหารแบบพีระมิดทรงคว่ำ

  15. การบริหารที่เน้นความเป็นบริษัท (ไม่ได้เน้นแค่กระบวนการทำงาน)

  16. การบริหารที่มองระยะยาว (ไม่ใช่การเอาชนะในระยะสั้น)

  17. การบริหารที่ลดระยะเวลาทำงานของพนักงาน (แทนที่จะให้พนักงานทำงานนานๆ)

  18. การบริหารแบบครอบครัวใหญ่ (ไม่ใช่ผู้บริหารเป็นคนจัดการ)

  19. การบริหารที่เน้นคนและด้านนามธรรม

  20. การบริหารที่พึ่งตนเอง อยู่ได้ด้วยตัวเอง (ไม่ใช่การบริหารที่เน้นพึ่งคนอื่น)

ผมเชื่อว่าอ่านๆ ลักษณะข้างต้นแล้ว หลายคนก็อาจจะตั้งข้อสงสัยเนื่องจากลักษณะเหล่านี้ค่อนข้างจะต่างไปจากแนวทางการบริหารหรือการจัดการที่เรามักทำๆ กันเสียส่วนใหญ่ หากแต่ถ้าคิดกันดีๆ แล้วจะเห็นว่าลักษณะดังกล่าวนั้นมีความเชื่อมโยงกับแนวทางการบริหารแบบยั่งยืนที่มีการพูดถึงบ่อยๆ หรือแม้แต่การเชื่อมโยงกับแนวคิดของ Social Responsiblity / Employee Engagement ด้วยอีกต่างหาก ซึ่งถ้าเราสามารถผสมจุดเด่นต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วก็จะเห็นองค์กรที่มีความโดดเด่นที่มากกว่าแค่เรื่องผลประกอบการหรือกำไร แต่เห็น “คุณค่า” และ “ความดีงาม” ของธุรกิจซึ่งผมมีค่ามากมายมหาศาลเลยทีเดียว

ก็ลองเอาไปคิดกันดูนะครับว่าข้อไหนที่เราสามารถริเริ่มและปรับองค์กรเราได้อย่างไรนะครับ

Comments


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page