Product Content 2 แบบที่มักใช้เป็นกรอบการคิดงาน
ถ้าจะมองเรื่องของการคิดคอนเทนต์สำหรับการนำเสนอสินค้า / บริการใด ๆ นั้น ก็จะมีวิธีการคิดเบื้องต้นเพื่อให้คนทำคอนเทนต์สามารถใช้โฟกัสความคิดได้ดีอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการแบ่งคอนเทนต์ออกเป็น 2 ทางหลัก ๆ คือ
1. คอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้า (Content About Product)
คือคอนเทนต์ที่เจาะจงกับการทำให้คนเสพคอนเทนต์ “รู้จัก” ตัวสินค้ามากขึ้น รู้ว่าสินค้าคืออะไร ทำงานอย่างไร มีคุณสมบัติอะไร มีจุดเด่นอะไรบ้าง ซึ่งหากจะมองกันเร็ว ๆ ก็จะเป็นคอนเทนต์ประเภทให้ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกของสินค้านั่นเอง
2. คอนเทนต์เกี่ยวโยงกับสินค้า (Content Around Product)
คอนเทนต์กลุ่มนี้จะต่างออกไปเพราะจะไม่โฟกัสกับการทำให้คนรู้จักสินค้า แต่จะเป็นการคิดกับสิ่งที่เกี่ยวโยง / ข้องเกี่ยวกับสินค้า บางคนอาจจะมองเป็นการคิดว่าด้วยสินค้านี้เราจะนึกถึงอะไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นวิธัการใช้งาน ประโยชน์ที่จะเอาไปใช้ ผลดีของการใช้สินค้า เรื่องสนุก ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การใช้สินค้านี้ ฯลฯ ซึ่งคอนเทนต์ในกลุ่มนี้จะมักจะเป็นคอนเทนต์ที่จะมีความเข้มข้นของการขายน้อยกว่าคอนเทนต์กลุ่มแรก และนิยมใช้กันในการสร้างคอนเทนต์ที่เน้นสร้างความคุ้นเคยกับสินค้าไปเรื่อย ๆ
หากจะลองเป็นตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่นว่าการขายแพคเกจเน็ตของค่ายมือถือนั้น ตัวคอนเทนต์ในกลุ่มแรกจะเป็นการขยายเรื่องรายละเอียดแพคเกจ จำนวนเนตที่ใช้ ข้อจำกัดต่าง ๆ ข้อดี เป็นต้น
ส่วนในคอนเทนต์แบบที่สอง ก็จะเป็นเรื่องว่าการใช้เนตทำอะไรแล้วสนุก แอพเจ๋ง ๆ ที่น่าเล่นเมื่อคุณมีเนตมากขึ้น หนังน่าสนุกที่ดูได้ผ่านการดู Video Streaming หรือเทคนิคการใช้มือถือที่มีเนตมากขึ้นจะมีอะไรได้บ้าง เป็นต้น
มุมมองการคิดคอนเทนต์สองแบบนี้จะเชื่อมโยงกับประเภทของคอนเทนต์ต่าง ๆ อย่างที่เราพอจะเห็นได้ว่าคอนเทนต์กลุ่มแรกจะมีความ Product Centric (โฟกัสที่สินค้า) มาก ในขณะที่แบบที่สองจะเป็น Customer Centric (โฟกัสที่กลุ่มเป้าหมาย) แทน และก็จะใช้วิธีการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันไปนั่นเอง
コメント