Toxic Superstar สร้างผลเสียมากกว่าที่หลายคนคิด (จนไม่ยอมจัดการ)
ในบรรดาหนังสือว่าด้วยเรื่องการบริหารองค์กร การสร้างวัฒนธรรมองค์กรนั้น มักจะประเด็นที่ถูกพูดถึงร่วมกันอยู่เสมอคืออย่าให้มีคนกลุ่มที่เรียกว่า Toxic Superstar / Brilliant Jerk อยู่ในองค์กร หรือถ้ารู้ว่ามีคนแบบนี้เมื่อไรก็ต้องรีบดำเนินการเอาออกทันทีโดยอย่ารีรอหรือหาข้ออ้างผัดผ่อนไปเรื่อย
หากจะอธิบายกันแบบง่าย ๆ แล้วนั้น ก็เพราะการมีอยู่ของคนเหล่านี้จะทำให้เกิดผลกระทบมากมายกันในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่้องสภาพแวดล้อมกับเพื่อนร่วมงาน ความรู้สึกของคนอื่นในองค์กร และต่อเนื่องไปสู่การเป็น Toxic Culture, Toxic Team และนำไปสู่เรื่องบานปลายอีกมากมาย
เวลาพูดแบบนี้แล้วก็ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า Toxic Superstar / Brillaint Jerk นั้นคือกลุ่มคนที่อาจจะทำงานเก่ง มีความสามารถ แต่มีความประพฤติบางอย่างเข้าขั้น “แย่” และ “เป็นพิษ” ไม่ว่าจะเป็นการพูดการจา กริยา ทัศนคติกับผู้อื่น รวมไปถึงพฤติกรรมบางอย่างที่เข้าข่าย “ทำให้เกิดความอึดอัดใจ” เช่นการคุกคามทางเพศ ล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ #metoo ซึ่งองค์กรใหญ่ ๆ นั้นจะมีมาตรการที่รุนแรงกับเรื่องเหล่านี้ค่อนข้างชัดเจนเช่นมีหลักฐาน เกิดกระทำความมผิดจริงก็จะทำการไล่ออกโดยทันทีแม้ว่าจะดำรงตำแหน่งใหญ่อะไรก็ตามเป็นต้น
ส่วนหนึ่งของการที่องค์กรดำเนินการอย่างเฉียบขาดกับสิ่งเหล่านี้เพราะมีการประเมินกันแล้วว่าหากปล่อยให้คนเหล่านี้ยังดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปก็จะมีแต่ทำให้เกิดเสียงซุบซิบนินทา สร้างประเด็นการเลือกปฏิบัติขององค์กร เกิดความไม่เชื่อใจต่อระบบขององค์กร และนั่นยังไม่รวมกับที่คนรอบข้างกับคนที่เป็นต้นกรณีจะรู้สึกว่าคนเหล่านี้ “ได้อภิสิทธิ์” เหนือความผิดและพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งนั่นก็ยิ่งก่อให้เกิดความคิดว่าวัฒนธรรมองค์กรไม่โปร่งใส ไม่ยุติธรรมไปนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้เอง เราคงต้องกลับมาถามแล้วว่าองค์กรของเรามีความชัดเจนและเฉียบขาดกับเรื่องนี้อย่างไร หากเราเป็นหัวหน้าทีม เป็นผู้บริหารแล้วสามารถกล้าตัดสินใจเรื่องนี้ได้หรือไม่
และคงต้องขอให้คิดไว้ด้วยว่าความเสียหายระหว่างการเสียมือดีไปคนหนึ่ง กับวัฒนธรรมขององค์กรที่ผุกร่อนและทำให้คนอื่นต้องเดินออกไปนั้น อะไรที่หนักหนาสาหัสกว่ากัน
Kommentare