การทำ Content Strategy ต้องเกิดจากการเข้าใจปัญหาของธุรกิจที่แม่นยำ
เวลาผมบรรยายเรื่อง Content Marketing นั้น สิ่งที่ผมมักย้ำกับผู้เรียนเสมอคือการที่เราต้องวิเคราะห์กันให้ดีเสียก่อนว่าองค์กรหรือธุรกิจของเราเดือดร้อนอะไรหรือ? ถึงต้องสื่อสารเรื่องนี้ออกมา
อย่างวันนี้ผมไปบรรยายที่บริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งก็ถามให้ผู้เข้าอบรมคิดต่อว่าทำไมเราถึงอยากให้องค์กรดูทันสมัยล่ะ ? การนำเสนอและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ทันสมัยขององค์กรสำคัญอย่างไร ?
มันอาจจะฟังดูแบบ เฮ้ย ทำไมต้องคิดด้วย การนำเสนอว่าทันสมัยก็น่าจะเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว ไม่เห็นต้องคิดเลยนี่ ? แต่ในความเป็นจริงแล้วก็จะเห็นว่าหลายบริษัทก็ไม่ได้เห็นจำเป็นว่าจะต้อง "ทันสมัย" ถึงจะทำให้ธุรกิจตัวเองเติบโตหรือเป็นที่รักของลูกค้า มันก็เลยกลับมาสิ่งที่ต้องคิดว่าอะไรคือสาเหตุลึก ๆ ที่ทำให้องค์กรต้องพยายามสร้างภาพลักษณ์ทันสมัยกับกลุ่มเป้าหมาย
มันอาจจะเกิดขึ้นเพราะความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนหนึ่งมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนใจไปใช้คู่แข่งที่ดูทันสมัย มีนวัตกรรมมากกว่า ทำให้องค์กรต้องตื่นตัวที่จะต้องสร้างภาพลักษณ์ให้ทันสมัยและดึงความสนใจจากคนกลุ่มนี้กลับมาได้ หรืออาจจะเพราะคู่ค้าต่าง ๆ มีความไม่มั่นใจกับภาพเดิมที่องค์กรดูเฉื่อย นิ่ง จนไม่อยากทำการค้าด้วย เลยต้องหันมา "ปรับภาพลักษณ์" ให้ดูดีขึ้น
นั่นเป็นเรื่องเดียวกันกับบรรดาภาพลักษณ์ต่าง ๆ ที่เรามักหยิบเอามาเป็น Keyword บน Presentation เช่น Trendy, Trustworthy, Inspired, Innovative ฯลฯ ซึ่งต้องมีที่มาที่ไปอย่างเข้าใจว่าทำไมต้องกำหนดสิ่งเหล่านี้ลงไปใน Content Strategy / Communication Strategy ขององค์กร มิเช่นนั้นจะเป็นการใส่คำสวยหรูลงไปโดยไม่ได้ตอบปัญหาจริง ๆ ขององค์กรเลยก็ได้
ก็หยิบเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังและฝากให้คิดกันนะครับว่าบรรดา Objective ที่สร้างขึ้นมาใช้เป็นเป้าในการสื่อสารนั้น ถูกวางไว้บนความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ ? หรือเป็นการคิดเองเออเองขึันมาแล้วจะกลายเป็นการเกาไม่ถูกที่คันแม้ว่าจะเป็นคำที่สวยหรูอยู่ก็ตาม
Comments