จำให้ได้มากขึ้น ด้วยการลืมให้เป็น
- Nuttaputch Wongreanthong
- 5 วันที่ผ่านมา
- ยาว 1 นาที

ในโลกที่ข้อมูลถาโถมเข้าหาเราตลอด 24 ชั่วโมง การ “ลืม” ดูเหมือนจะเป็นความผิดพลาดที่หลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้น เราพยายามใช้เทคโนโลยีช่วยจำทุกอย่าง ตั้งแต่ปฏิทิน รายการสิ่งที่ต้องทำ ไปจนถึงบันทึกเสียงการประชุม เพราะเราเชื่อว่าการจำได้ทุกอย่างคือ “ประสิทธิภาพ”
แต่ความจริงแล้ว… “การลืม” คือฟังก์ชันสำคัญที่สมองออกแบบมาให้เราใช้ อย่างมีเป้าหมายซึ่ง Charan Rangnanath ได้อธิบายไว้อย่างน่าคิดในหนังสือ Why We Remeber ว่า สมองมนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้จำทุกสิ่ง แต่มันเก่งมากในการ คัดเลือกสิ่งที่ “ควร” จำ
กระบวนการลืมของสมองทำหน้าที่เหมือนบรรณาธิการมือดีที่กรองเนื้อหาก่อนตีพิมพ์ ข้อมูลที่ไม่สำคัญ จะถูกเก็บไว้แค่ชั่วคราว หรืออาจถูกลบออกไป เพื่อให้พื้นที่กับความทรงจำที่มีความหมายและใช้งานได้จริง ซึ่งยิ่งเราเข้าใจว่าการลืมคือกระบวนการหนึ่งของ “การเลือกจำ” เราก็ยิ่งสามารถใช้มันเป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ หากเราต้องการจำสิ่งสำคัญให้ได้ดีขึ้น มันก็มีเทคนิคที่คนเก่ง ๆ ใช้กันเพื่อจัดระเบียบสมองได้แก่ Chunking และ Memeory Place
Chunking คือการปรับข้อมูลที่จะจำโดยแทนที่จะจำข้อมูลเป็นชุดยาวๆ นั้นก็ให้แบ่งมันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ เช่น การจำเบอร์โทรศัพท์ 10 หลัก เรามักแบ่งเป็น 3-4-3 หรือ 3-3-4 ทำให้สมองรับข้อมูลได้ง่ายขึ้น เพราะมันอยู่ใน “หน่วย” ที่สมองสามารถจัดการได้
ส่วน Memory Palace คือเทคนิคที่อาศัยการจินตนาการว่าคุณเก็บข้อมูลไว้ในสถานที่คุ้นเคย เช่น บ้านในวัยเด็ก คุณอาจวางไอเดียสำคัญไว้ในห้องครัว วางลิสต์รายการไว้บนโซฟา การผูกข้อมูลเข้ากับภาพหรือสถานที่ จะช่วยให้สมองดึงข้อมูลกลับมาได้เร็วขึ้น
เมื่อเข้าใจเช่านี้แล้ว การจดจำที่ดี ไม่ได้เกิดจากความพยายามจะยัดข้อมูลทุกอย่างไว้ในหัว แต่มาจากการ คัดกรอง เลือกจำ และจัดการข้อมูลอย่างชาญฉลาด
เหมือนห้องสมุดที่ดี ไม่ได้มีแค่หนังสือมาก แต่มี “ระบบจัดเก็บ” ที่ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้อย่างแม่นยำ
ดังนั้น แทนที่จะกังวลกับการลืม ลองตั้งคำถามใหม่ว่า “วันนี้ฉันอยากจำเรื่องอะไร?” แล้วปล่อยเรื่องอื่นให้สมองได้ทำหน้าที่ของมัน เพราะบางครั้ง… การลืม ก็คือการทำให้ความคิดชัดเจนขึ้น
Comments