top of page

ถอดรหัสการสร้าง Viral Content – อารมณ์ไหนที่ทำให้เราอยากแชร์?

โจทย์สำคัญอย่างหนึ่งของคนทำคอนเทนต์วันนี้คือทำอย่างไรให้เกิดการบอกต่อหรือที่เรามักพูดกันติดปากว่าต้องเกิด Viral ให้ได้ แน่นอนว่าในความเป็นจริงนั้นการจะเกิด Viral ก็ไม่ได้ง่ายเหมือนกับการพูดเสียเท่าไร มีการพยายามอธิบายอยู่เรื่อยๆ ว่าเพราะอะไร คอนเทนต์ที่มีการสร้างนั้นถึงแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

ในการศึกษาล่าสุดของ Fractl นั้นก็มีการให้กลุ่มตัวอย่าง 800 คนได้อธิบาย “ความรู้สึก” ของตัวเองต่อคอนเทนต์ประเภทภาพที่มีการ Viral และเปรียบเทียบกับภาพที่ไม่ได้ Viral แล้วก็ได้ผลสรุปออกมาน่าสนใจทีเดียวว่าแม้จะเป็นคอนเทนต์เดียวกัน แต่กับกลุ่มเป้าหมายต่างเพศและต่างอายุ ก็กลับให้อารมณ์และความรู้สึกที่อาจจะแตกต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานั้นก็พบลักษณะร่วมของ Viral Content อยู่ในทุกๆ กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งนี่น่าจะเป็น “รหัส” ที่คนทำคอนเทนต์น่าจะลองเอาไปพิจารณากันดูนะครับ

ลักษณะเด่น 3 อย่างของ Viral Content

1. มีความรู้สึกในแง่บวก

ในการทดสอบนั้นพบว่าคอนเทนต์ที่สามารถสร้างความรู้สึกในแง่บวกได้จะเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้คนแชร์คอนเทนต์ออกไป นอกจากนี้แล้วยังพบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการดูคอนเทนต์และจำนวนของความรู้สึกในแง่บวกอีกด้วย

5

2. มีความซับซ้อนด้านอารมณ์และความรู้สึก

เมื่อมีการเปรียบเทียบคอนเทนต์ที่มีการ Viral กับไม่มีนั้น พบว่าคอนเทนต์ที่สร้างการ Viral ได้จะมีการสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่กว้างหรือหลากหลายมากกว่า

ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่าความรู้สึกบวกอย่างเดียวนั้นอาจจะไม่เพียงพอที่ทำให้คอนเทนต์ถูกแชร์ แต่มันควรจะกระตุ้นอารมณ์ที่หลากหลายให้กับคนเสพคอนเทนต์ด้วย

6

3. เซอร์ไพรส์!!

การสร้างความประหลาดใจนั้นเป็นอีกหนึ่งประเภทของความรู้สึกที่เห็นได้ชัดจากผู้ถูกทดสอบหลังจากเห็น Viral Content รวมทั้งยังสอดคล้องกับจำนวนการแชร์คอนเทนต์อีกด้วย

7

คนรุ่นใหม่เข้าถึงคอนเทนต์ต่างไปจากเดิม

เรื่องนี้อาจจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะยิ่งทำการเทียบความรู้สึกในกลุ่มที่มีอายุน้อยหรือคนยุค Millenials นั้น ก็พบว่าความรู้สึกต่อคอนเทนต์แตกต่างออกไปโดยพบว่าพวกเขาจะรู้สึก “น้อยกว่า” กลุ่มอื่นๆ (ทั้งในด้านรู้สึกแง่บวกและประหลาดใจ)

9

จากผลดังกล่าวนั้น ก็มีการสันนิษฐานกันไปต่างๆ นานา โดยหนึ่งในข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจคือคนกลุ่มนี้นั้นจะเริ่มสนใจและให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ประเภทรูปน้อยลง (ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่นำมาใช้ในการทดลอง) โดยคนกลุ่มนี้น่าจะให้ความสนใจกับคอนเทนต์ที่มีรูปแบบหลากหลายมากกว่านั้น เช่นภาพเคลื่อนไหว หรือสื่อแบบ Interactive เป็นต้น

ชาย vs หญิง มีทั้งเหมือนและต่าง

จริงอยู่ที่ว่าชายและหญิงเองก็มีความแตกต่างด้านอารมณ์ ซึ่งนั่นทำให้ผลทดสอบพบว่าความรู้สึกของพวกเขาต่อคอนเทนต์ต่างๆ นั้นก็แตกต่างออกไป อย่างไรก็ตาม การศึกษาก็พบว่าพื้นฐานด้านอารมณ์ส่วนใหญ่ของหญิงและชายก็ยังมีความเหมือนกันอยู่

  1. ในการศึกษาพบว่าผู้ชายมีความรู้สึกดีมากกว่าเล็กน้อย แต่ก็มีความหลากหลายด้านอารมณ์ที่น้อยด้วยเช่นกัน

  2. ในขณะที่ผู้หญิงนั้นจะมีความรู้สึกเรื่องความเชื่อใจ (Trust) มากกว่าผู้ชาย เช่นเดียวกับความรู้สึกด้านลบที่จะมากกว่าผู้ชาย


13

ในการศึกษาครั้งนี้ยังมีผลน่าสนใจอีกหลายอย่างด้วยกัน ลองดูได้จากรูปด้านล่างนี้เลยครับ


เรียบเรียงจาก BufferSocial

ภาพประกอบซื้อและดาว์นโหลดจาก Bigstock 

Yorumlar


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page