top of page

ทำไม Focused Thinking ถึงสำคัญ (และคนหลายตัวอาจจะไม่รู้ตัวว่าไม่มี)

หนึ่งในทักษะสำคัญของการคิดในวันนี้คือการที่ผู้คิดนั้นสามารถจะเลือกโฟกัสเรื่องไหนเป็นสำคัญเพื่อทำให้เราสามารถมองเห็นประเด็นต่างๆ ที่กำลังสนใจนั้นให้มากที่สุด

ดูแล้วก็เหมือนจะไม่มีอะไรซับซ้อนใช่ไหมล่ะครับ? แต่เอาเข้าจริงแล้ว Focused Thinking ก็ไม่ได้ง่ายแบบที่เราเขียนกันไว้ในย่อหน้าแรกเสมอไป แถมหลายๆ คนก็อาจจะพบว่าตัวเองมีปัญหากับการทำ Focused Thinking พอสมควรเลยทีเดียว

Focused Thinking: การจดจ่อ เพ่ง และมีสมาธิ

ถ้าจะว่ากันง่ายๆ แล้ว Focus Thinking ก็เป็นการพยายามกำหนดเป้าหมายของการคิดไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งเป็นสำคัญ แล้วให้เรา / คนในทีมคิดร่วมกันในประเด็นนั้น เช่น

“มาช่วยกันคิดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

“ระดมไอเดียหาวิธีแก้ปัญหานี้กัน”

ซึ่งการทำ Focused Thinking นั้นก็มีประโยชน์มากในการที่ทำให้ผู้คิด / ร่วมคิดสามารถตัดประเด็นอื่นๆ ออกไป ไม่ว่อกแว่ก กังวล หรือพะวงกับเรื่องอื่นและทำให้เสียกระบวนการคิดได้

แน่นอนว่าการคิดแบบ Focused Thinking มักจะใช้กันเยอะเวลาที่เรากำลังระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเช่นการมองหาปัญหา การพยายามคิดถึงความเป็นไปได้ต่างๆ ตลอดจนการวิเคราะห์อะไรสักอย่าง

ในขณะเดียวกันนั้น การทำ Focused Thinking มักจะใช้ร่วมกับการ “มองภาพรวม” เพื่อให้เห็นมุมมองที่กว้าง ครบถ้วนต่างๆ เช่นมองเห็นว่าปัญหาของสถานการณ์นี้เกิดขึ้นจาก 5 ส่วน แล้วค่อยทำการเจาะลงไปโฟกัสทีละส่วน เป็นต้น

ประโยชน์ของ Focus Thinking

อย่างที่ได้กล่าวไปบ้างแล้วว่าการทำ Focused Thinking นั้นสามารถเอื้อประโยชน์ให้ผู้คิดได้ในหลายๆ ด้านเช่น

  1. การมีสมาธิกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

  2. ทำให้คนไม่หลุดโฟกัส หลุดประเด็น เมื่อต้องเปลี่ยนหัวเรื่องไปมา

  3. ทำการพูดคุยต่างๆ ต่อเนื่องไปตั้งแต่ต้นจนจบ

  4. ทำให้สามารถมองประเด็นต่างๆ ได้ลึกมากขึ้น ให้เวลากับเรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น

ทำไมถึงทำ Focus Thinking ไม่ได้?

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว เรากลับพบว่าหลายๆ คนนั้นไม่สามารถทำ Focused Thinking กันได้เท่าไรนัก บ้างก็ทำได้มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดจาก

  1. ผู้คิดรีบคิดล่วงหน้าถึงผลต่อเนื่องทำให้มองข้ามไปจากจุดที่โฟกัสอยู่

  2. ผู้คิดพยายามเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ไปประเด็นอื่นๆ เพราะเห็นประโยชน์บางอย่าง (ประเภทนึกขึ้นได้) แล้วกลัวว่าจะลืม ทำให้รีบเปลี่ยนโฟกัสไปคิดเรื่องนั้นต่อแทน

  3. ประเด็นเรื่องที่พยายามโฟกัสนั้นยัง “กว้างเกินไป” จนไม่สามารถจะโฟกัสได้ชัดเจน ทำให้กระบวนการคิดสับสน แกว่งไปแกว่งมา เช่นพอเราบอกว่า “ให้หาไอเดียเกี่ยวกับการแต่งบ้าน” ผู้คิดก็รีบคิดไปในทุกส่วนของบ้านจนกลับไปกลับมาระหว่างจะโฟกัสห้องนอน ห้องครัว ห้องรับแขก หรือจะโฟกัสระหว่างโครงสร้างใหญ่หรือเฟอร์นิเจอร์” ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งที่ควรทำคือการแบ่งย่อยของประเด็นใหญ่ให้แคบมากพอที่เราจะสามารถโฟกัสได้ชัดเจนเสียก่อน

  4. ผู้คิดไม่ชอบประเด็นที่กำลังโฟกัสอยู่ คิดว่าไม่ถนัด ก็เลยพยายามตัดช่องในการข้ามไปเรื่องอื่นแทนโดยยังไม่ได้พยายามจะคิดในสิ่งที่ต้องโฟกัสให้ดีเสียก่อน

กว่าจะรู้ตัวว่ามีปัญหาด้าน Focused Thinking

คงไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าเราจะบอกว่าใครสักคนไม่มีสมาธิ เพราะก็คงไม่มีใครยอมรับกันง่ายๆ เสียเท่าไร หากแต่ต้องอาศัยกิจกรรมต่างๆ เพื่อทำให้เห็นว่าคนๆ นี้มีกระบวนการคิดอย่างไร สามารถโฟกัสเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานขนาดไหน

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเรื่องนี้จะไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะถ้าทีมงานรู้ว่าทีมของเรามีปัญหาหรือบางคนอาจจะไม่ได้เก่งกับการทำ Focused Thinking แล้ว ก็ต้องการกลวิธีหรือขั้นตอนการคุยงาน / ประชุมงานเพื่อให้คนเหล่านี้เดินตามได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย มิเช่นนั้นจะทำให้การคุยคิดงานหลุดออกนอกประเด็นกันได้ง่ายๆ นั่นเอง

บทความอื่นที่น่าสนใจ

Comments


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page