top of page

ประยุกต์การวาง Content โดยใช้แนวคิด Hero Hub Hygiene Content ของ YouTube

ถ้าใครได้ฟังสัมนาของ YouTube เรื่องการสร้างคอนเทนต์นั้น เรามักจะได้ยินเรื่องการสร้างคอนเทนต์สามประเภทที่เรียกว่า Hero Hub Hygiene กันอยู่บ่อยๆ ซึ่งนั่นเป็นการที่ YouTube แนะนำให้แบรนด์หรือคนทำคอนเทนต์ต่างๆ ได้วางเป็นแนวคิดการสร้างคอนเทนต์ของตัวเองสำหรับธุรกิจต่างๆ และแน่นอนว่านั่นไม่ใช่แค่การทำคอนเทนต์ YouTube เพียงอย่างเดียว มันยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการวางแผนคอนเทนต์อื่นๆ ได้อีกด้วย

รู้จัก Hero Hub Hygiene Content

ในเบื้องต้นนั้น เรามาทำความรู้จักสามคอนเทนต์นี้กันแบบง่ายๆ กันก่อน โดยคอนเซปต์ของ 3 คอนเทนต์นี้วางตามลักษณะคอนเทนต์ที่แตกต่างกัน และทำหน้าแตกต่างกันไป

Hero Content พูดกันง่ายๆ คือคอนเทนต์ที่ “จัดเต็ม” เรียกว่าเป็นตัวชูโรงและทำสร้างความสนใจได้อย่างมาก คอนเทนต์ของ YouTube ในกลุ่มนี้มักเป็นคอนเทนต์ระดับที่เรียกว่า Epic Video หรือพวกหนังที่ถูกพูดถึงกันเยอะๆ แน่นอนว่า Hero Content เป็นคอนเทนต์ที่ทุ่มทุนสร้างกันพอสมควรและหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้คนหันมาสนใจตัวแบรนด์กัน ด้วยการที่เป็นคอนเทนต์แบบทุ่มทุนสร้าง มันเลยไม่สามารถทำกันได้บ่อยๆ (เราคงไม่สามารถทำหนังสเกลใหญ่กันได้ทุกวันแน่ๆ)

ในทางกลับกัน Hub Content จะถูกวางไว้เป็นเหมือนคอนเทนต์ที่มาอย่างต่อเนื่องและสามารถสร้าง Engament กับกลุ่มคนตามได้อยู่เรื่อยๆ คอนเทนต์แบบนี้มักจะเป็นคอนเทนต์ที่ทำให้คนต้องอยากติดตาม เพราะมีการอัพเดทอยู่อย่างสม่ำเสมอ หรือไม่ก็เป็นคอนเทนต์ที่ทำให้คนต้องเข้ามาดูใน Channel ของ YouTube อยู่เรื่อยๆ

ส่วน Hygiene Content นั้นมักถูกมองว่าเป็นคอนเทนต์แบบ Always-On จะโดนบ้างไม่โดนบ้างก็ไม่เป็นไรแต่ทั้งนี้ Hygiene Content มักจะสร้างโดยอิงอยู่บนพื้นฐานความสนใจของกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ ทำให้คอนเทนต์กลุ่มนี้ยังคงมีความสำคัญอยู่ และมักจะเป็นคอนเทนต์ประเภทที่ติด Search / SEO อยู่เรื่อยๆ

screen-shot-2559-09-24-at-9-10-18-pm

ปล. ดูข้อมูลเพิ่มเติมรวมทั้งวิธีการดีไซน์คอนเทนต์บน YouTube ได้ที่ลิงค์นี้

ประยุกต์ Hero Hub Hygiene กับคอนเทนต์อื่นๆ

ทีนี้แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ทำ YouTube กันบ่อยนัก (ถ้าเราไม่ได้เป็นคนช่างทำวีดีโอ) เราลองมาดูกันว่าจะเอาแนวคิด Hero Hub Hygiene มาใช้กับคอนเทนต์ทั่วๆ ไปในแพลตฟอร์มอื่นได้อย่างไร

ผมลองนำกรอบความคิดนี้มาวางกันแบบง่ายๆ จะออกมาในลักษณะนี้

Hero Content

ตัว Hero Content นั้นคือคอนเทนต์ที่เราหมายมั่นปั้นมือ และหวังว่ามันจะ “โดน” หรือ “ปัง” บน Timeline เรียกได้ว่างานเดียวเกิดอะไรอย่างนั้น แต่แน่นอนว่ามันก็ไม่ได้ง่ายขนาดที่จะทำกันได้เหมือนคิดนัก การทำ Hero Content จำเป็นต้องใช้เวลาและการคิดงานค่อนข้างเยอะเช่นการทำวีดีโอคอนเทนต์แบบดีๆ ทำโปรดักชั่นสวยๆ หรือแม้แต่การทำคอนเทนต์เซ็ทรูปที่ต้องปราณีต ใช้เวลาในการทำโปรดักชั่นไม่น้อย

สำหรับผมแล้ว คอนเทนต์กลุ่ม Hero นั้นเราต้องประเมินตัวเองกันดีๆ ว่าจะมีแรงผลิตได้มากน้อยแค่ไหน และก็ต้องไม่ลืมว่าถ้าทำออกไปแล้ว “ไม่โดน” ก็เท่ากับ “วืด” และเสียโอกาสอยู่พอสมควรเลยทีเดียว

Hub Content

ถ้าเราไม่แรงพอจะทำ Hero ได้ เราก็อาจจะหันมาทำ Hub Content ดู โดยกลุ่มนี้คือการใช้ Insight ของกลุ่มเป้าหมายมาตีให้เกิดคอนเทนต์ประเภท “ซีรี่ย์” ที่เราสามารถผลิตออกมาได้บ่อยๆ ต่อเนื่อง ไม่ต้องพึ่งโปรดักชั่นเยอะแต่อาศัยความขยันและต่อเนื่อง

การทำคอนเทนต์ Hub ได้ดีนั้นคือการมองให้ออกว่ากลุ่มเป้าหมายนั้นสนใจอะไรเป็นพิเศษ และเราสามารถจะหยิบมันมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับตัวแบรนด์ของเราได้ไหม

ตัวอย่างของ Hub Content ง่ายๆ ก็บล็อกการตลาดของผมที่คุณกำลังอ่านนี่แหละครับ เพราะผมจะทำคอนเทนต์เรื่องการตลาดอยู่อย่างสม่ำเสมอซึ่งก็จะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและสะท้อนกลับมาที่ตัวของเว็บเองด้วย (การเป็นแหล่งข้อมูลด้านการตลาด)

Hygiene Content

ถ้าเราปรับวิธีการมอง Hygiene ว่ามันคือคอนเทนต์ประเภทที่ผลิตได้อยู่เรื่อยๆ และต่อเนื่อง (Always-on) ซึ่งก็จะเน้นความเร็วและความถี่ในการโพสต์ชนิดที่ให้คนเห็นกันได้ทุกวัน

สำหรับแบรนด์ใหญ่ๆ นั้น คอนเทนต์ประเภทนี้อาจจะเป็นคอนเทนต์ที่เหมือน “หมัดแย๊บ” ที่ตอดคนตามไปเรื่อยๆ และมักมีการวางแผนไว้ว่าจะโพสต์อะไรบ้างในแต่ละวัน หมัดแย๊บเหล่านี้มักเป็นหมัดที่โดนบ้างไม่โดนบ้าง บางครั้งก็เผลอฮิตและหลายๆ ครั้งก็ไม่ได้ฮิตอะไรเป็นพิเศษ แต่เอาเป็นว่าให้มาเห็นกันอยู่เรื่อยๆ ไม่ลืมกันอะไรอย่างนั้น คอนเทนต์พวกนี้อาจจะเป็นพวกรูปภาพเก๋ๆ สวยๆ (เพราะทำได้ไม่ยากมาก) หรือคอนเทนต์ที่บางคนจะเรียกว่า Snack Content (คอนเทนต์ที่มาไวไปไว)

สำหรับบางคน ตัว Hygiene กับ Hub อาจจะรวมกันได้ถ้าเขาสามารถทำ Hub ให้มีความถี่ในระดับ Hygiene ได้ (แต่ก็ต้องเรียกว่าบ้าพลังกันพอสมควรเลยทีเดียว)

แต่ในอีกทางหนึ่ง ถ้าเราจะมองว่า Hygiene นั้นคือคอนเทนต์แบบที่จะติด SEO กันแล้ว มันก็จะออกไปทางพวกบล็อกที่มี Value Content ที่คนมาค้นหาอยู่เรื่อยๆ เป็นเรื่องราวที่คนสนใจและมาดูอยู่สม่ำเสมอ เป็น Organic Traffic ไปนั่นเอง

*จะมองแบบไหนก็ได้ อันนี้อยู่ที่เราเลือกจะมองนะครับ

วางน้ำหนักกันอย่างไรดี?

ถ้าใครฟังผมบรรยายบ่อยๆ ก็จะรู้ดีว่ามันไม่มีสัดส่วนหรือสูตรว่าเราควรจะวางน้ำหนักอะไรอย่างไร แน่นอนว่าถ้าคุณบ้าพลังและสามารถทำ Hero ได้ถี่มันก็คงดี เพื่อนผมอย่าง Spin9.me ก็ทำบล็อกโดยที่มีแต่คอนเทนต์แบบ Hero ล้วนๆ ชนิดไม่ได้มาบ่อย แต่มาแต่ละทีก็เรียกว่าโดนๆ กันทั้งนั้น ในขณะที่ของผมจะออกแนวปั้ม Hub ออกมาอย่างต่อเนื่อง (จนหลายคนจะเรียกว่าเป็น Hygiene ได้เลย) ส่วนบางเพจที่ผมรู้จักก็ไม่ได้ทำ Hub ออกมาเยอะ อาจจะออกแนวอาทิตย์ละครั้งแล้วระหว่างอาทิตย์ก็ใช้คอนเทนต์ง่ายๆ เลี้ยงไประหว่างอาทิตย์

เราจะเห็นว่าปัจจัยในการสร้าง Hero Hub Hygiene นั้นมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

  1. วัตถุดิบในการทำคอนเทนต์ (เรื่องราวต่างๆ ที่คุณมีในมือ)

  2. ความสามารถในการทำคอนเทนต์

  3. ประเภท / จำนวนของผู้ติดตาม

  4. ฯลฯ

ก็ลองเอาไปคิดกันดูนะครับว่าจะเอาไปปรับใช้กับการทำคอนเทนต์ได้มากน้อยแค่ไหนฮะ

Commenti


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page