top of page

รู้จักโหมดการคิดหาคำตอบที่เรียกว่า Divergent และ Convergent

กระบวนการคิดนั้นสำคัญมากกับการแก้ปัญหาต่างๆ และหลายครั้งที่ปัญหานั้นแก้ไขได้ไม่ดี หรือไม่ก็ไม่มีไอเดียๆ เกิดขึ้นเพราะกระบวนการคิดนั้นถูกนำมาใช้แบบไม่ถูกต้องนัก ซึ่งถ้าหากเรารู้ว่าจังหวะไหนควรจะใช้วิธีคิดแบบไหน มันก็จะสร้างโอกาสในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แล้วการคิดที่ว่านั้นมันมีกี่รูปแบบกัน?

เอาจริงๆ มันก็หลายวิธี หลาย Framework อยู่เหมือนกันซึ่งผมก็คงทยอยหยิบมาเล่าอยู่เรื่อยๆ โดยบล็อกนี้จะขอหยิบโมเดลการคิดเรียกกันว่า Divergent Thinking และ Convergent Thinking มาอธิบายแล้วกันนะครับ

Divergent Thinking

ถ้าจะพูดกันง่ายๆ แล้วนั้น Divergent Thinking คือกระบวนการคิดแบบ “สร้างสรรค์” และ “หาไอเดีย” ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่เราใช้วิธีการคิดแบบ Divergent Thinking นั้น เรามักจะพยายามหาความเป็นไปได้ หรือตัวเลือกต่างๆ ให้มากที่สุดต่อปัญหาที่เรากำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งวิธีการที่มักจะใช้กันก็เช่น

  1. การมองปัญหาในแง่มุมที่หลากหลาย

  2. การคิดวิธีแก้ปัญหาจากหลายๆ มุม

  3. การถกและโยนไอเดียใหม่ๆ

ซึ่งแน่นอนว่าช่วงที่เราใช้ Divergent Thinking นั้นมักจะเป็นช่วงที่เราทำสิ่งที่เรียกว่า Brainstorm นั่นเอง

Convergent Thinking

ในทางตรงกับข้ามกับ Divergent Thinking ที่โฟกัสในเรื่องการสร้างไอเดียที่หลากหลาย การคิดแบบ Convergent นั้นจะเป็นกระบวนการคิดวิเคราะห์ตัวเลือกต่างๆ การพิจารณาดูข้อดีข้อเสีย การลำดับความสำคัญต่างๆ เพื่อนำไปสู่การ “ตัดสินใจ” หรือการ “เลือก” วิธีการนั่นเอง

การใช้ผิดวิธี ผิดเวลา

การทำงานของทั้ง Divergent Thinking และ Convergent Thinking นั้นสำคัญทั้งคู่ แต่เราต้องเลือกใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่นถ้าเกิดเราอยู่ในห้องประชุมที่กำลังมองหาไอเดียหรือแลกเปลี่ยนแนวทางใหม่ๆ สำหรับการทำแคมเปญ มันก็คงจะดีถ้าเราใช้โหมดแบบ Divergent Thinking ที่พยายามคิดมุมมองใหม่ๆ หรือโยนไอเดียออกมา แต่ถ้าระหว่างที่เราทำแบบนั้นแล้วมีคนใช้วิธีคิดแบบ Convergent Thinking ก็จะเกิดการ “ฆ่าไอเดีย” เช่นการพูดท้วงว่าไอเดียนี้ไม่เวิร์ค ไอเดียนี้เคยทำมาแล้ว ฯลฯ และนั่นทำให้ที่ประชุมก็ยากจะเกิดไอเดียใหม่ๆ ขึ้นมา

แต่ในขณะเดียวกันนั้น บางจังหวะที่เราต้องการสรุปไอเดีย หรือต้องเลือกกลยุทธ์เพื่อมาบริหารจัดการแล้ว มันก็คงไม่ใช่เวลาที่จะใช้ Divergent Thinking เช่นกัน เพราะไม่อย่างนั้นก็จะพาที่ประชุมออกทะเล พูดวนไปเรื่อยโดยหาบทสรุปกันไม่ได้เสียที

ฉะนั้นแล้ว หากจะทำงานให้มีประสิทธิภาพ ก็ต้องรู้ว่าจังหวะไหนเราควรจะใช้ Divergent Thinking และช่วงไหนที่เราควรจะใช้ Convergent Thinking นั่นเองล่ะครับ

(ด้านล่างเป็นวีดีโออธิบายเรื่อง Divergent / Convergent Thinking ของ Havard ที่ดีทีเดียว เลยขอเอามาเผื่อใครสนใจอยากฟังอธิบายเพิ่มเติมนะครับ)


Comments


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page