ลักษณะสำคัญของ Toxic Boss
เวลาเราพูดเรื่องทำงานหนักเนี่ย ถ้าพูดเรื่องให้ทนกับ “งาน” หลาย ๆ ทีมันก็พอไหวอยู่หรอกนะครับ แต่พอเป็นเรื่อง “คน” เนี่ยน่าจะเป็นสิ่งที่ทนอยากพอสมควร ยิ่งถ้าเป็นหัวหน้าด้วยแล้วเนี่ย ยิ่งน่าจะเป็นเรื่องใหญ่มากจนทำให้หลาย ๆ คนมักพูดกันบ่อย ๆ ว่า
“คนเข้ามาเพราะงาน แต่ลาออกเพราะหัวหน้า”
ซึ่งในชีวิตจริงผมก็เจอเคสทำนองนี้มาเยอะทีเดียว
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าหัวหน้าของเราดีหรือไม่ดี? จะวัดกันแค่เพราะเราไม่พอใจเขาหรือเปล่า? วันก่อนผมอ่านบทความของ Inc แล้วน่าสนใจกับการสรุปเป็น Checklist 5 นิสัยที่ถ้าเจอก็พอจะรู้ได้เลยล่ะครับว่าหัวหน้าคนนี้เข้าขั้น Toxic Boss หรือที่เรียกกันได้ว่าหัวหน้าที่ไม่ควรจะทำงานด้วยนั่นเอง มีอะไรบ้างนั้นก็ตามลิสต์ด้านล่างนี้เลยครับ
เวลาเราพูดเรื่องทำงานหนักเนี่ย ถ้าพูดเรื่องให้ทนกับ “งาน” หลาย ๆ ทีมันก็พอไหวอยู่หรอกนะครับ แต่พอเป็นเรื่อง “คน” เนี่ยน่าจะเป็นสิ่งที่ทนอยากพอสมควร ยิ่งถ้าเป็นหัวหน้าด้วยแล้วเนี่ย ยิ่งน่าจะเป็นเรื่องใหญ่มากจนทำให้หลาย ๆ คนมักพูดกันบ่อย ๆ ว่า
“คนเข้ามาเพราะงาน แต่ลาออกเพราะหัวหน้า”
ซึ่งในชีวิตจริงผมก็เจอเคสทำนองนี้มาเยอะทีเดียว
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าหัวหน้าของเราดีหรือไม่ดี? จะวัดกันแค่เพราะเราไม่พอใจเขาหรือเปล่า? วันก่อนผมอ่านบทความของ Inc แล้วน่าสนใจกับการสรุปเป็น Checklist 5 นิสัยที่ถ้าเจอก็พอจะรู้ได้เลยล่ะครับว่าหัวหน้าคนนี้เข้าขั้น Toxic Boss หรือที่เรียกกันได้ว่าหัวหน้าที่ไม่ควรจะทำงานด้วยนั่นเอง มีอะไรบ้างนั้นก็ตามลิสต์ด้านล่างนี้เลยครับ
หลงตัวเอง
หัวหน้าประเภทนี้เชื่อว่าตัวเองยอดเยี่ยมกว่าใคร ๆ แล้วก็จะพยายามผลักดันตัวเองไปให้สูงกว่าเดิมซึ่งแน่นอนว่ามันแลกมาพร้อมกับการให้ทีมงานเป็นบันไดให้ตัวเองไปสู่จุดที่สูงขึ้นนั่นเอง
เข้ามาแทรกแซงการทำงาน
หัวหน้าบางคนก็จะเป็นประเภทเข้ามาจัดการเสียทุกเรื่อง ไม่ปล่อยให้คนทำงานได้ทำเอง หรือที่บางทีก็จะเรียกว่า Micromanagement เพราะต้องการให้ทุกอย่างได้ตามที่ตัวเองต้องการ ตัวเองต้องคุมทุกอย่าง
ตั้งเป้าที่แทบจะเป็นไปไม่ได้
การตั้งเป้าหมายมีส่วนสำคัญในการทำให้พนักงานได้มีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน แต่ถ้าตั้งเป้าแบบชนิดเป็นไปไม่ได้ก็มีแต่ทำให้พนักงานรู้สึกหมดหวังเอาได้ แต่ก็นั่นแหละที่มีหัวหน้าบางประเภทชอบตั้งเป้าแบบที่ไม่อยู่บนความเป็นจริง (หรือบางทีก็ไม่พยายามจะเข้าใจความเป็นจริง) พร้อมกับการตั้งความคาดหวังที่สูงลิบและบีบให้คนทำงานเป็นให้ได้ (ซึ่งมันก็เป็นไปไม่ได้) และผลที่ตามมาคือสภาพจิตอันย่ำแย่ของคนทำงาน
หยาบคาย
การแสดงกิริยาหยาบคายนั้น เป็นใครก็ล้วนไม่ชอบ และการอ้างว่า “จริงใจ” เป็นการแก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ เพราะเอาเข้าจริงแล้วการหยาบคายใส่ทีมงานเป็นแค่วิธีการระบายอารมณ์และโชว์อำนาจเหนือคนอื่นซึ่งไม่มีใครจะชอบอยู่แล้ว (หรือว่าคุณชอบให้คนมาพูดหยาบใส่ตรงหน้าล่ะ?)
ไร้ความสามารถ
ถ้าจะเป็นผู้นำ ก็ต้องมีความสามารถที่โดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือทำในสิ่งที่ทำให้คนเห็นว่าคนนี้เหมาะสมจะเป็นหัวหน้าหรือผู้นำ แต่เราก็รู้ดีว่าจะมีหัวหน้าบางคนประมาณว่า “ได้มาเป็นหัวหน้าได้ไง?” หรือ “รับเข้ามาได้ไง” เพราะทำอะไรไม่เป็นเลย พึ่งพาในบทบาทหัวหน้าไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าหัวหน้าแบบนี้ลูกน้องก็คงทำงานด้วยลำบากแน่ ๆ นั่นแหละ ไม่แน่ใจว่า 5 ข้อนี้จะไปตรงใจกับใคร เคยเจอข้อไหนกันหรือเปล่า แต่เอาเป็นว่าถ้าเจอลักษณะแบบนี้ ก็ลองคิดดี ๆ ว่าจะทำงานต่อไปดีหรือไม่นะครับ
Comments