top of page

วิสัยทัศน์ – คุณสมบัติสำคัญของคนและบริษัทที่จะประสบความสำเร็จ

เวลามีคนถามผมว่าทักษะเรื่องอะไรสำคัญบ้างกับคนยุคนี้ ผมก็มักจะยกทักษะหลายๆ อย่างที่ผมมองว่าสำคัญเช่นการค้นหาข้อมูล การจัดการ ความสามารถในการเรียนรู้ ฯลฯ และหนึ่งในสิ่งที่ผมมักพูดบ่อยๆ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโลกดิจิทัลคือเรื่องของวิสัยทัศน์

ท่ีผมค่อนข้างให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์นั้น เพราะมันคือภาพที่ผู้นำองค์กรหรือแม้แต่ตัวเราเองสามารถมองเห็นได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร และทำอย่างไรที่เราจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญมากในช่วงเวลาที่ตลาดมีการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงกันอยู่แทบตลอดเวลา สำหรับผมแล้ว การมองเห็นได้ว่าอนาคตสภาพแวดล้อมจะเป็นอย่างไร ธุรกิจของเราจะอยู่ในจุดไหน จะเอาตัวรอดได้อย่างไร เช่นเดียวกับคำถามที่ว่าในอนาคตนั้นเราจะยังมีงานทำไหม จะได้ทำงานในตำแหน่งอะไร สิ่งเหล่านี้ล้วนคือวิสัยทัศน์ที่ถ้าใครยิ่งเห็นชัดก็จะยิ่งมีโอกาสก้าวไปได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

เรื่องราวของวิสัยทัศน์นี้ อาจจะฟังดูง่ายๆ หรือประเภทว่าใครๆ ก็คงจะมี แต่เอาจริงๆ แล้วจากประสบการณ์ของผมนั้น วิสัยทัศน์เป็นอีกเรื่องที่ไม่ใช่หากันง่ายๆ เพราะมันคนที่มีวิสัยทัศน์ที่ดี (หรือยอดเยี่ยม) นั้นต้องเกิดจากการตกผลึกทางความคิดและการเข้าใจแบบลึกซึ้งอยู่พอสมควร ถ้าเปรียบง่ายๆ เป็นคนทั่วไปก็คงเป็นคนประเภทที่มี Passion ล้นเหลือและมองเห็นอนาคตตัวเองอย่างชัดเจนว่าอยากทำอะไร จะได้ทำสิ่งที่ตัวเองหวังได้อย่างไร และสิ่งที่ตัวเองอยากทำนั้นจะสร้างความสำเร็จให้กับตัวเองได้อย่างไร

เรื่องพวกนี้บางทีอาจจะเป็นมากกว่าการแค่บอกว่า “รู้” หรือ “เข้าใจ” ประเภทที่เราลองโยนคำถามว่าอนาคต Social Media หรือการตลาดดิจิทัลจะเป็นอย่างไร คนหลายๆ คนที่อาจจะเป็นนักการตลาดดิจิทัลอยู่แล้วอาจจะให้คำตอบไม่ได้เพราะยังไม่ได้มองเห็นว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่จะพัฒนาต่อยอดไปสู่อะไรในอนาคต บางคนอาจจะคุ้นเคยและชำนาญในสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ทุกๆ วันจริงแต่ก็ไม่อาจบอกได้ว่าวันพรุ่งนี้ หรือในอีกสองปีต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร

มันก็คล้ายๆ กับที่พอเราถามว่าอีกห้าปีคุณจะทำงานอะไร หลายๆ คนก็นึกไม่ออก บ้างก็ตอบว่าเป็นพนักงานที่ปรับเงินเดือนและตำแหน่งตามกาลเวลา แต่คนบางพวกจะตอบได้อย่างตื่นเต้นว่าเขากำลังทำอะไร (หรือจะทำอะไร) นั่นแหละ

โดยส่วนตัวผมแล้ว โลกธุรกิจทุกวันนี้นั้นควรให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์ในคนทำงานอยู่พอสมควร เพราะมันคือทักษะในการมองเห็นภาพใหญ่ของงานที่พวกเขาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง คนทำงานระดับล่างเองก็ควรจะมีวิสัยทัศน์ในระดับหนึ่งว่าตัวเองมีส่วนร่วมสำคัญอย่างไร เช่นเดียวกับผู้นำและผู้บริหารเองก็ต้องรู้จักที่จะอธิบายและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ดังกล่าวออกมาให้คนทำงานได้รู้และเข้าใจด้วย

และจะว่าไปแล้ว เรื่องนี้ก็คล้ายๆ กับเรื่อง Start with Why ที่ผมชอบพูดบ่อยๆ ว่าการที่คนเราทำงานได้อย่างเต็มที่นั้นก็มาจากเรื่องของ “ความเชื่อ” เป็นสำคัญ และการจะให้คนเชื่ออะไรบางอย่างได้นั้น ก็ต้องมาจากเรื่องวิสัยทัศน์นี่แหละ

มาถึงตรงนี้ หลายๆ คนเองก็เริ่มตั้งคำถามว่าตัวเองมีวิสัยทัศน์หรือไม่ หรือมีแล้วดีแค่ไหน ผมลองคิดคำถามสนุกๆ ให้คุณได้ลองทดสอบตัวเองดูนะครับ

1. ในอีก 5 ปี / 10 ปีข้างหน้านั้น คุณจะใช้ชีวิตอย่างไร? จะประสบความสำเร็จหรือไม่?

2. งานและโปรเจคที่คุณทำอยู่จะมีบทบาทอย่างไรในอีก 5 ปีข้างหน้า จะสำคัญกับองค์กรอย่างไร?

3. ธุรกิจของคุณเปลี่ยนแปลงมาอย่างไรใน 5  ปีที่ผ่านมา และในอีก 5 ปีข้างหน้ามันจะไปสู่จุดไหน?

4. ธุรกิจที่คุณทำงานอยู่จะล่มสลายหรือลดบทบาทเพราะอะไร และทำอย่างไรมันถึงจะอยู่รอด?

เรื่องราวของวิสัยทัศน์นั้นยังมีอีกมากมาย มีแง่มุมน่าสนใจที่คุณสามารถนำไปพัฒนาตัวเองได้อยู่พอสมควร ไว้ผมจะหาโอกาสมาเล่าสู่กันฟังต่อไปนะครับ

ภาพประกอบซื้อและดาว์นโหลดจาก Bigstock

Comments


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page