top of page

หลัก 3 อย่างของการสร้างการยอมรับจากทีมเมื่อผู้นำต้องตัดสินใจ

การตัดสินใจต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในองค์กรเพราะเราต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เรื่อยๆ การเลือกลยุทธ์หรือทิศทางบริษัท และเรื่องอื่นๆ อีกมากมายในแต่ละวัน ยิ่งกับธุรกิจในวันนี้ที่หลายๆ องค์กรรู้แล้วว่าจำเป็นต้องปรับรูปแบบการทำงานเพื่อรับมือกับสถานการณ์ธุรกิจใหม่ด้วย มันจึงไม่อาจจะเลี่ยงการ “ตัดสินใจ” ได้

ทีนี้เมื่อเราต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการอะไรนั้น จะทำอย่างไรให้คนในทีมหรือในองค์เห็นพ้องและร่วมมือกับเราได้? นวงการธุรกิจและการจัดการนั้นจะรู้จักหลักของ Fair Process ที่ใช้กันแนวทางมานานหลายสิบปีเพื่อให้เหล่าผู้บริหารสามารถนำการตัดสินใจของตัวเองไปสู่การทำงานจริงๆ ได้ และได้รับการยอมรับจากคนในองค์กร โดย Fair Process ที่ว่านี้มันหัวใจสำคัญสามอย่างคือ

1. Engagement

Engagement ในที่นี้หมายถึงการให้คนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังความคิดเห็น การนำเสนอไอเดียหรือคำวิจารณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องดึงคนที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมเพื่อให้พวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของการ “ตัดสินใจ” แทนที่จะเป็นการบังคับโดยไม่ได้เอ่ยปากหรือแสดงความเห็นเลย

2. Explanation

สิ่งที่จำเป็นมากๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือตัดสินใจอะไรนั้นคือการที่ผู้นำหรือผู้บริหารต้องอธิบายที่มาที่ไป เหตุผล และความคิดต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของการตัดสินใจให้กับคนอื่นได้เข้าใจ ที่สำคัญคือการที่ต้องสื่อสารให้ผู้อื่นทราบได้ว่าการตัดสินใจนั้นอยู่บนพื้นฐานอะไรและสร้างความไว้ใจ เชื่อใจ กับคนในองค์กร (และสำคัญมากคือการอธิบายให้โปร่งใสและบริสุทธ์ใจที่สุด)

3. Clear Expectation

การตัดสินใจอะไรนั้นก็แสดงว่าเราจะ “ดำเนินการ” อะไรสักอย่าง ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่ผู้นำจะต้องบอกคนอื่นๆ ให้รู้ได้ว่าการตัดสินใจนี้คาดหวังอะไร จะเกิดอะไรขึ้น เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในทีมนั้นจะต้องเจอกับสถานการณ์อย่างไร กฏเกณฑ์ใหม่จะเป็นอย่างไร วิธีการจะเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ปรับตัวเองให้ถูกต้อง

ความผิดพลาดในชีวิตการทำงานจริง

แม้ว่าหลักการข้างต้นก็ดูไม่สลับซับซ้อนอะไรนัก แต่เอาจริงๆ เราจะพบว่าหลายๆ ครั้งที่มีการตัดสินใจหรือการประกาศนโยบายอะไรนั้น องค์กรจำนวนมากนั้นกลับทำผิดกันเยอะมาก เช่น

  1. การตัดสินใจไม่เคยเกิดการรับฟังความคิดเห็น เป็นการคิดของคนไม่กี่คน

  2. ไม่มีการอธิบายที่ชัดเจน การประกาศก็บอกแค่ว่าจะทำอะไร แต่ไม่บอกว่าทำไม

  3. หลายๆ ครั้งการของการชี้แจงเป็นการชี้แจงผ่าน Email ที่เขียนได้ไม่น่าอ่าน ไม่กระชับ และไม่ได้เนื้อความที่ดี

  4. ผู้บริหารไม่สามารถบอกได้ว่าหลังจากการตัดสินใจนี้แล้วจะทำงานอย่างไร จะดำเนินการอย่างไร มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่จะมีแค่การบอกกว้างๆ ลอยๆ แล้วปล่อยให้คนทำงานไปผจญชะตากรรมเองภายหลัง

  5. ฯลฯ

เราจะเห็นว่าแม้ว่าหลักการจะดูดีนั้น แต่พอทำงานจริงแล้วหลายๆ ครั้งผู้บริหารหลายคนกลับไม่เลือกทางดังกล่าว ส่วนหนึ่งเพราะจะเห็นได้ว่าหลักการสามข้อนั้นจำเป็นต้อง “เผชิญหน้า” กับคนในองค์กรค่อนข้างเยอะ และจำเป็นต้องใช้ทักษะการสื่อสารที่ดีด้วย และนั่นก็น่าจะเห็นเป็นเหตุให้หลายๆ คนเลี่ยงจะทำตามและหันไปใช้วิธี “ทางลัด” เอาแทนจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในหลายๆ องค์กรนั่นเอง

Commentaires


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page