อะไรคือ EdgeRank แล้วมันสำคัญอะไรกับการทำ Facebook Page
การทำ Facebook Page น่าจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นักการตลาดดิจิตอลรวมทั้งแบรนด์ธุรกิจทั้งใหญ่ทั้งเล็กใช้กันเป็นอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากทำได้ง่ายและแทบไม่เสียค่าใช้จ่าย (สำหรับคนที่คิดจะทำเอง) อีกทั้งยังเห็นจำนวนของผู้ที่ชื่นชอบ เข้ามากดติดตามอย่างเป็นตัวเลขที่จับต้องได้
แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดกันคือการมีแฟนจำนวน 1 หมื่นคนนั้น หากมีการโพสต์ข้อความบนหน้าเพจ ก็ไม่ได้หมายความว่าคนทั้ง 1 หมื่นคนนั้นจะเห็นข้อความดังกล่าวแต่อย่างใด
มีการรวบรวมสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับการโพสต์ของเพจ ว่าจริงๆ แล้วมีคนเฉลี่ยประมาณ 16% (หรืออาจจะน้อยกว่า) ของจำนวนแฟนที่จะเห็นโพสต์ดังกล่าว และนั่นยังไม่นับปัจจัยอื่นๆ เช่นแฟนที่เพจมีอาจจะเป็นแฟนที่ไม่มีตัวตนจริง ไม่ได้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ
ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือกว่า 90% ของผู้ใช้งาน Facebook แทบไม่เคยกลับไปที่หน้าเพจที่ตัวเองกดไลค์ไว้เลย หากจะเป็นการอ่านดูข้อความผ่าน newsfeed ของตัวเองแทน คำถามที่น่าสงสัยคือ Facebook จัดการบรรดาเหล่าข้อความและโพสต์จำนวนมากที่มีในแต่ละวัน มาเรียงลำดับบน newsfeed ของผู้ใช้งานแต่ละคนด้วยวิธีใด ซึ่งนั่นก็คือที่มาของสิ่งที่เรียกว่า EdgeRank นั่นเอง
EdgeRank คือสูตรคำนวนที่ Facebook สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการตัดสินว่าโพสต์ของผู้ใช้รวมทั้งเพจต่างๆ จะถูกเรียงลำดับอย่างไรบนหน้า newsfeed ซึ่งถ้าเราสังเกตแล้ว จะเห็นได้ว่าบางโพสต์เป็นข้อความที่ผ่านไปสักพักแล้ว บ้างก็เพิ่งเกิดขึ้น สลับกันไป ซึ่งรูปแบบนี้จะต่างจาก Twitter ที่เรียงลำดับชัดเจนว่าตามเวลาโพสต์เรียงกันไป โดย EdgeRank นั้นมีรูปแบบของการคำนวนตามด้านล่างนี้
จากสูตรข้างต้น เราจะเห็นตัวแปรสามตัวที่เป็นกุญแจสำคัญของ EdgeRank ซึ่งจะอธิบายทีละอย่างดังต่อไปนี้
(u) The Affinity Score: ค่าความใกล้ชิด
เป็นค่าที่ Facebook ประเมินจากความสัมพันธ์ของบุคคลสองคน (หรือกับแบรนด์เพจ) โดยเป็นการประเมินแบบทางเดียว กล่าวคือพิจารณาว่า User A ได้มีปฏิสัมพันธ์กับ User B มากน้อยแค่ไหน หากมาก โอกาสที่โพสต์ของ User B ก็จะขึ้นมาบน newsfeed ของ User A ก็จะสูงมากขึ้นตาม แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าโพสต์ของ User A จะขึ้นมาบน newsfeed ของ User B ในระดับเดียวกันแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการประเมินค่าความสัมพันธ์แบบทางเดียวเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็อาจจะพอวิเคราะห์ได้ว่า หากโพสต์ของเพจนั้นได้รับการปฏิสัมพันธ์สูง (ไลค์, คอมเมนต์, แชร์) โอกาสที่โพสต์ต่อๆ ไปจะปรากฏบนหน้า newsfeed ของแฟนที่เคยมาปฏิสัมพันธ์ไปแล้วก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็อาจจะพอวิเคราะห์ได้ว่า หากโพสต์ของเพจนั้นได้รับการปฏิสัมพันธ์สูง (ไลค์, คอมเมนต์, แชร์) โอกาสที่โพสต์ต่อๆ ไปจะปรากฏบนหน้า newsfeed ของแฟนที่เคยมาปฏิสัมพันธ์ไปแล้วก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
(w) The Weight Score: ค่าน้ำหนักของโพสต์
เป็นการประเมินของ Facebook โดยให้น้ำหนักของประเภทคอนเทนต์แต่ละอย่างไม่เท่ากัน โดยเรียงลำดับดังต่อไปนี้ (จากมากไปหาน้อย)
Photo / Video – รูปภาพหรือวีดีโอ
Link – ลิงก์ไปเว็บไซต์อื่นๆ
Plain Text – ข้อความเฉยๆ
อย่างไรก็ตาม ค่าน้ำหนักนี้ยังคำนวนโดยนำจำนวนปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับคอนเทนต์นั้นมาประกอบด้วย จึงเป็นไปได้ว่าแม้จะเป็นอัพเดทข้อความอย่างเดียว แต่หากมีคนกดไลค์เยอะ ก็มีค่าน้ำหนักมากกว่าโพสต์รูปที่ไม่มีคนกดไลค์เลย
(d) Time Decay: ค่าความสดใหม่
Facebook จะประเมินให้คะแนนจากความใหม่ของคอนเทนต์นั้นๆ ถ้าคอนเทนต์ที่ใหม่ เพิ่งโพสต์ก็จะมีค่านี้มาก ซึ่งค่านี้จะมีส่วนสำคัญให้ newsfeed ของผู้ใช้งานมีคอนเทนต์ใหม่ๆ อยู่เสมอนั่นเอง
จากที่อธิบายมาข้างต้น ก็จะพอเห็นได้ว่าทำไมบางโพสต์ถึงขึ้นมาบนหน้า newsfeed ของเราบ่อยแม้ว่าจะถูกโพสต์ไปสักพักแล้วก็ตาม
ส่วนที่ถามว่าทำไม EdgeRank ถึงสำคัญกับการทำ Facebook Page ก็คงไม่พ้นกับเป้าหมายที่ว่าการทำเพจนั้นก็เพื่อใช้เพื่อโพสต์คอนเทนต์ต่างๆ ของแบรนด์ หากการโพสต์ดังกล่าวไม่สามารถเข้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้แล้วก็ดูจะเป็นความพยายามที่ไม่สำเร็จของแบรนด์ การพยายามรักษา EdgeRank ไว้จึงมีความสำคัญอยู่พอสมควรเพื่อให้คอนเทนต์ของเพจยังถูกนำไปปรากฏบน newsfeed ของแฟนอยู่เรื่อยๆ
ไม่อย่างนั้นแล้ว ต่อให้มีแฟนจำนวนมาก แต่ EdgeRank ของเพจต่ำเตี้ยติดดิน ถึงโพสต์ไปก็อาจจะเข้าถึงแฟนได้เพียงหยิบมือจากจำนวนที่มากนั้นก็ได้
บล็อกนี้จะคุยแค่พื้นฐานของ EdgeRank ก่อน แล้วเดี๋ยวครั้งต่อไปจะลองมาคุยกันว่าทำอย่างไรบ้างที่จะเพิ่ม EdgeRank อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องถึงขนาดต้องโพสต์จับฉ่ายจนกลายเป็น Spam
ข้อมูลและภาพประกอบการเขียน:
http://www.copypress.com/blog/wp-content/uploads/2012/08/EdgeRank.jpg
http://cdn.business2community.com
コメント