อัปเดตตลาด e-Commerce ไทยจาก ETDA
ในทุกๆ ปีนั้น ทาง ETDA ก็จะมีการนำเสนอข้อมูลสำรวจและวิเคราะห์ตลาดที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งตัวที่เราน่าจะคุ้นๆ ก็คือการสำรวจพฤติกรรมพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยนอกจากนั้นก็จะมีรายงานน่าสนใจอื่นๆ เช่นรายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ซึ่งผมขอหยิบมาสรุปประเด็นน่าสนใจของรายงานปี 2561 ตามนี้ครับ
มูลค่าตลาด e-Commerce ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เป็นไปตามที่หลายๆ คนคาดการณ์ (และน่าจะรู้สึกกันอยู่แล้ว) คือ e-Commerce ในไทยก็ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่ามูลค่า e-Commerce แบบ B2C ของไทยมีการเติบโตที่ 18.64%
และจากตัวเลขดังกล่าว ทำให้คาดการณ์ว่ามูลค่า e-Commerce แบบ B2C เฉลี่ยต่อหัวประชากรของไทยอยู่ที่ 337.50 เหรียญสหรัฐฯ
e-Commerce ขยายตัวไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น
เราอาจจะรู้สึกกันว่าคนไทยเน้นซื้อขายของกันในประเทศเป็นหลัก แต่เราก็เห็นแนวโน้มการเติบโตไปตลาดต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ
กรุงเทพยังเป็นตลาดหลัก ตามมาด้วยภาคกลางและภาคเหนือ
เมื่อดูผลสำรวจมูลค่า e-Commerce ในกลุ่มผู้ประกอบการ SME (ไม่นับผู้ประกอบการแบบ Enterprises) นั้นพบว่ามูลค่าหลักจะอยู่ที่กรุงเทพและปริมณฑลเป็นหลัก ซึ่งก็อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นเขตเศรฐกิจหลักและมีความพร้อมมากกว่าภาคอื่นๆ เช่นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระบบชำระเงิน หรือระบบขนส่ง
กลุ่มการขายสินค้าแบบผสมเริ่มโตมากขึ้น
ในรายงานพบว่าผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าและบริการแบบออนไลน์อย่างเดียวนั้นเริ่มมีสัดส่วนที่น้อยลงจากปีก่อน ส่วนหนึ่งอาจจะวิเคราะห์ได้ว่าผู้ประกอบการเก่าที่มีร้านค้าแบบ Physical นั้นหันมาทำ e-Commerce มากขึ้น
กลุ่มค้าปลีกและค้าส่งนำตลาด ตามด้วยการให้บริการที่พัก
เมื่อดูว่าอุตสาหกรรมไหนมีมูลค่าในตลาด e-Commerce มากที่สุดนั้น พบว่าตลาดที่มีการมูลค่าสูงสุดคือกลุ่มค้าปลีกและค้าส่ง ซึ่งมีการเติบโตสูงขึ้นกว่าปีก่อนค่อนข้างมาก ขณะที่กลุ่มการให้บริการที่พักนั้นตามมาเป็นอับดับสองและตามด้วยกลุ่มข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
ห้างสรรพสินค้านำในกลุ่มค้าปลีก ตามด้วยกลุ่มอาหาร
เมื่อเราเจาะลงไปในตลาดค้าปลีกนั้น ก็พบว่ามูลค่า e-Commerce ที่สูงที่สุดอยู่ในกลุ่มธุรกิจห้างสรรสินค้า ตามมาด้วยกลุ่มจำหน่ายอาหาร อาหารแปรรูป และเครื่องดื่ม ส่วนกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดคือกลุ่มยานยนต์และอุปกรณ์เสริม
การชำระเงินผ่าน Offline ยังเป็นช่องทางหลัก
แม้ว่าตอนนี้เราจะมีบริการชำระเงินดิจิทัลมากขึ้นแล้ว แต่การชำเงินด้วย Offline ก็ยังมีปริมาณที่สูงมากอยู่ อย่างไรก็ดีเราก็พอเห็นการเติบโตของการชำะรเงินแบบ Online มากขึ้น
ไปรษณีย์ไทยยังครองแชมป์ขนส่งสำหรับ SME
เมื่อดูข้อมูลว่าใช้บริการอะไรในการส่งของนั้น กลุ่ม Enterprises จะมีบริษัทจัดส่งสินค้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต่างจากตลาด SME ที่ยังคงใช้บิรการไปรษณีย์ไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เห็นว่ากลุ่มบริษัทจัดส่งสินค้านั้นมีเปอร์เซนต์ที่สูงและไล่ตามมา
Facebook และ Google ไล่บี้กับการเป็นช่องทางสร้าง ROI และยอดขายที่ดีที่สุด
เมื่อเทียบช่องทางการตลาดออนไลน์ที่กลุ่มผู้ประกอบการ Enterprises ใช้ในการประชาสัมพันธ์และบริการ ที่มี ROI และสร้างยอดขายมากที่สุดนั้น พบว่า Facebook และ Google ไล่กันแบบูสูสีมากๆ
สำหรับผู้ที่สนใจอยากดูข้อมูลเพิ่มเติมของผลการสำรวจฉบับนี้ สามารถดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่ ETDA ครับ
Comments